Difference between revisions of "Nginx"

From CMU ITSC Network
Line 234: Line 234:
 
[http://nginx.org/en/docs/ http://nginx.org/en/docs/]<br>
 
[http://nginx.org/en/docs/ http://nginx.org/en/docs/]<br>
 
[http://nginx.org/en/docs/http/load_balancing.html http://nginx.org/en/docs/http/load_balancing.html]
 
[http://nginx.org/en/docs/http/load_balancing.html http://nginx.org/en/docs/http/load_balancing.html]
 +
 +
== SSL offload ==
 +
ใช้ nginx ทำ https server เพื่อให้บริการ https ได้โดยใช้ let's encrypt บริการ SSL certificate ฟรี<br>
 +
[[File:Ssl-offload.png|link=]]

Revision as of 09:32, 13 June 2018

บทนำ

เนื่องจากสำนักได้ให้บริการ private cloud แก่ส่วนงานต่าง ๆ ในรูปแบบ Infrastructure as a service นั้น
โดยปกติ work load ที่ deploy นั้นสามารถ run application ต่าง ๆ ได้แล้วติดต่อกันได้ผ่านระบบเครือข่ายภายใน
ส่วน application ที่ต้องบริการทั่วไปโดยต้องรับการติดต่อจาก Internet ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น web application
เพื่อให้ผู้ใช้งานจาก Internet ใช้งานเว็บไซต์ที่อยู่บน cloud ของส่วนงานได้ ทางสำนักจะมี Public IP address ให้กับ cloud ของส่วนงาน 1 หมายเลขต่อ cloud
แล้วจะทำการแปลง Public IP เป็น Private IP ให้โดยการทำ port forwarding หรือ destination NAT
โดย work load ที่เป็นปลายทาง NAT จะต้องเป็น reverse proxy เพื่อที่จะทำให้สามารถให้บริการหลาย ๆ เว็บไซต์ได้
บทความนี้จะสาธิตการตั้งค่าใช้งาน nginx ซึ่งเป็น reverse proxy ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายเพื่อที่ทางส่วนงานจะได้นำไปประบุกต์ใช้กับระบบของส่วนงานต่อไป
และในท้ายบทความจะแนะนำการใช้งาน ssl certificate สำหรับการเข้ารหัสเว็บไซต์แบบฟรี

Reverse Proxy

Lab Diagram

Cloud nginx.png
จากรูปภาพใน lab นี้จะใช้ nginx ทำ reverse proxy ในรูปแบบที่ใช้งานกันทั่ว ๆ ไป
จะใช้ server 4 เครื่อง เป็น nginx 1 เครื่อง และเป็น web application node 3 เครื่อง
1. nginx(สีขาว) ip 10.110.0.140
2. web-node-a(สีฟ้า) ip 10.110.0.61
3. web-node-b(สีเขียว) ip 10.110.0.21
4. web-node-c(สีส้ม) ip 10.110.0.204
โดยที่ www1.demo.cloud.cmu.ac.th, www2.demo.cloud.cmu.ac.th, www3.demo.cloud.cmu.ac.th จะลงทะเบียนโดเมนเป็น public ip ขานอกและ DNAT มาที่ ip private ของ nginx

ตั้งค่า hostname server

บทความนี้ใช้ ubuntu 16.04 ที่เครื่อง web-node-a, web-node-b และ web-node-c รันคำสั่ง โดยที่ X=a,b หรือ c ตาม server ที่รันคำสั่ง

echo "web-node-X" > /etc/hostname
echo "$(hostname -I) web-node-X" >> /etc/hosts
sysctl -w kernel.hostname=web-node-X

Reverse Proxy ทั่วไป

Diagram

Nginx-general.png

ติดตั้งและตั้งค่า web application ตัวอย่าง

ที่เครื่อง web-node-a, web-node-b และ web-node-c รันคำสั่ง

tasksel

จากนั้นเลือก LAMP server แล้ว OK แล้วทำตามขั้นตอน
01-tasksel.PNG

แก้ไขไฟล์หน้าเว็บตัวอย่าง

ที่เครื่อง web-node-a และ web-node-b รันคำสั่ง

cd /var/www/html/
mv index.html index.html.ori
echo "<?php echo '$(hostname):80'; phpinfo(); ?>" > index.php

ติดตั้งและตั้งค่า nginx

ที่เครื่อง nginx รันคำสั่ง

apt install nginx

เพิ่ม file config สำหรับ web site www1.demo.cloud.cmu.ac.th และ www2.demo.cloud.cmu.ac.th
file /etc/nginx/sites-enabled/www1.conf

server {
        listen 80;
        server_name www1.demo.cloud.cmu.ac.th;
        location / {
                proxy_pass http://10.110.0.61;
        }
}

file /etc/nginx/sites-enabled/www2.conf

server {
        listen 80;
        server_name www2.demo.cloud.cmu.ac.th;
        location / {
                proxy_pass http://10.110.0.21;
        }
}

reload nginx เพื่อให้อ่านค่า file config ใหม่

service nginx reload

ทดสอบเรียกใช้งาน web site
02-www1-www2.png


Reverse Proxy Alias

Diagram

Nginx-alias.png

สร้างเว็บไซต์ย่อย

ที่เครื่อง web-node-a สร้างเว็บไซต์ใหม่

mkdir -p /var/www/www2-a
echo "<?php echo '$(hostname):82'; phpinfo(); ?>" > /var/www/www2-a/index.php

สร้าง file config ของ apache2 สำหรับเว็บใหม่
file /etc/apache2/sites-enabled/www2-a.conf

Listen 82
<VirtualHost *:82>
        DocumentRoot /var/www/www2-a/
</VirtualHost>

reload apache2

service apache2 reload

ที่เครื่อง web-node-c สร้างเว็บไซต์ใหม่

mv /var/www/html/index.{html,html.ori}
echo "<?php echo '$(hostname):80'; phpinfo(); ?>" > /var/www/html/index.php

เพิ่ม alias บน nginx

ที่เครื่อง nginx แก้ไขไฟล์ /etc/nginx/sites-enabled/www2.conf

server {
        listen 80;
        server_name www2.demo.cloud.cmu.ac.th;
        location / {
                proxy_pass http://10.110.0.21;
        }
        location /a {
                proxy_pass http://10.110.0.61:82/;
        }
        location /b {
                proxy_pass http://10.110.0.204/;
        }
}

reload nginx

service nginx reload

ทดสอบเรียกเว็บไซต์
03-www2-alias.PNG

Reverse Proxy load balance

Diagram

Nginx-load-balance.png

สร้างเว็บไซต์ใหม่

ที่เครื่อง web-node-a, web-node-b และ web-node-c สร้างเว็บไซต์ใหม่

mkdir -p /var/www/www3
echo "<?php echo '$(hostname):81'; phpinfo(); ?>" > /var/www/www3/index.php

สร้าง file config apache2 สำหรับเว็บไซต์ใหม่ file /etc/apache2/sites-enabled/www3.conf

Listen 81
<VirtualHost *:81>
        DocumentRoot /var/www/www3/
</VirtualHost>


reload apache2

service apache2 reload

ตั้งค่า nginx แบบ load balance

เพิ่ม file config nginx /etc/nginx/sites-enabled/www3.conf

upstream www3 {
        server 10.110.0.61:81;
        server 10.110.0.21:81;
        server 10.110.0.204:81;
}
server {
        listen 80;
        server_name www3.demo.cloud.cmu.ac.th;
        location / {
                proxy_pass http://www3;
        }
}

reload nginx

service nginx reload


ทดสอบเรียกเว็บไซต์ www3.demo.cloud.cmu.ac.th แล้ว refresh จะเห็นว่าจะมีการเปลี่ยน node ไปเรื่อย ๆ
04-ww3-load-balance.PNG

ประเภทของ load balance

  • round-robin -- คือสลับวนไปเรื่อย ๆ ในแต่ละ request เป็นค่า default
  • least-connected -- คือ request ถัดดไปจะถูกส่งไปยัง server ที่มี active connection น้อยที่สุด
upstream www3 {
        least_conn;
        server 10.110.0.61:81;
        server 10.110.0.21:81;
        server 10.110.0.204:81;
}
  • ip-hash -- ใช้ ip address ของ client เป็นตัวตัดสินใจว่าจะส่ง request ไปยัง server ไหน ต้องใช้วิธีนี้เพื่อที่จะทำ Session persistence
upstream www3 {
        ip_hash;
        server 10.110.0.61:81;
        server 10.110.0.21:81;
        server 10.110.0.204:81;
}

Weighted load balancing

เป็นการส่ง request ไปยัง server แบบมีน้ำหนัก เช่นในตัวอย่าง server 10.110.0.61 จะถูกส่ง request มากกว่า server อื่น

upstream www3 {
        server 10.110.0.61:81 weight=3;
        server 10.110.0.21:81;
        server 10.110.0.204:81;
}

Health checks

nginx จะใช้ request จริงในการตรวจสอบว่า upstream server ยังใช้งานได้อยู่หรือไม่โดยมีตัวแปรสองค่าที่เดี่ยวข้องคือ

  • max_fails -- คือจำนวนครั้งที่ไม่สามารถติดต่อ server ได้แล้วจะถือว่า server นั้น down, server มี down จะไม่ถูกส่ง request ไปอีก ค่า default คือ 1
  • fail_timeout -- คือระยะเวลาที่หลังจาก server down แล้วจะส่ง request ไปตรวจสอบว่ายังติดต่อได้หรือไม่ถ้าติดต่อได้จะถือว่า server up มาอีกครั้งและส่ง request ไปยัง server นั้นตามปกติ ค่า default คือ 10 วินาที
upstream www3 {
        server 10.110.0.61:81 max_fails=3 fail_timeout=15s;
        server 10.110.0.21:81;
        server 10.110.0.204:81;
}

อ้างอิง

http://nginx.org/en/docs/
http://nginx.org/en/docs/http/load_balancing.html

SSL offload

ใช้ nginx ทำ https server เพื่อให้บริการ https ได้โดยใช้ let's encrypt บริการ SSL certificate ฟรี
Ssl-offload.png