Difference between revisions of "CMU Private Cloud"
Thomhathai (talk | contribs) (→บทนำ) |
Thomhathai (talk | contribs) |
||
Line 15: | Line 15: | ||
|} | |} | ||
− | + | หากหน่วยงานใดมีความต้องการที่จะใช้งาน Private Cloud นอกเหนือจากตารางข้างต้นนี้ สามารถดูรายละเอียดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ที่ :[https://o365cmu-my.sharepoint.com/:b:/g/personal/thomhathai_j_cmu_ac_th1/ERspEanVgcdDnCRz2Tl794QBCeqdMc0xYp2IAesbL72XFQ?e=yGsbhM อัตราค่าบริการ Private Cloud] | |
Revision as of 06:43, 15 February 2022
บทนำ
ด้วยสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ให้บริการศูนย์จัดเก็บข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ (DATA Center)
ที่มีมาตรฐาน มีเสถียรภาพ และมีความปลอดภัยสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการให้บริการแก่ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย เพื่อให้ส่วนงานและหน่วยงานประหยัดงบประมาณการลงทุนเกี่ยวกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และคอมพิวเตอร์แม่ข่ายต่าง ๆ ในการจัดสร้างและดูแลศูนย์ข้อมูลของส่วนงานที่เข้าร่วมโครงการและขณะนี้สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศมีความพร้อมในการให้บริการ จึงเห็นสมควรให้บริการเครื่องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์เสมือน(Virtual Private Server) ในลักษณะของการให้บริการแบบ Private Cloud
การให้บริการศูนย์จัดเก็บข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการให้บริการ Private Cloud เป็นการให้บริการระบบประมวลผลบนระบบ Cloud แบบ Private ให้กับส่วนงานที่ต้องการใช้บริการภายในมหาวิทยาลัย โดยผู้ดูแลระบบจะสามารถบริหารจัดการระบบประมวลผลได้ด้วยตนเองผ่านหน้า Website ที่ทางสำนักฯ ได้จัดสรรให้ โดยจะให้บริการเฉพาะหน่วยงานในระดับคณะ สำนัก และสถาบันเท่านั้น โดยแต่ละส่วนงานจะสามารถสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนของได้ภายในข้อจำกัดของทรัพยากรที่สำนักได้จัดสรรให้ตามตาราง โดยส่วนงานจะต้องกำหนดประสิทธิภาพของแต่ละเครื่องภายใต้ทรัพยากรที่มอบให้ตามความเหมาะสม โดยมีรายละเอียด การการจัดสรรทรัพยากร ดังนี้
รูปแบบ(ไม่เก็บค่าใช้จ่าย) | vCPU(Cores) | RAM(GB) | Disk (GB) |
หน่วยงานขนาดเล็ก | 12 | 16 | 1,200 |
หน่วยงานขนาดกลาง | 16 | 20 | 1,600 |
หน่วยงานขนาดใหญ่ | 20 | 24 | 2,000 |
หากหน่วยงานใดมีความต้องการที่จะใช้งาน Private Cloud นอกเหนือจากตารางข้างต้นนี้ สามารถดูรายละเอียดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ที่ :อัตราค่าบริการ Private Cloud
การจัดแบ่งหน่วยงานตามค่าใช้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน
หน่วยงานขนาดเล็ก | หน่วยงานขนาดกลาง | หน่วยงานขนาดใหญ่ |
คณะการสื่อสารมวลชน คณะนิติศาสตร์ |
คณะเกษตรศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ |
คณะเทคนิคการแพทย์ คณะบริหารธุรกิจ |
แนวปฏิบัติทางด้านเทคนิค
- ส่วนงานที่จะใช้บริการ CMU Private Cloud ได้ จะต้องส่งแบบฟอร์มตอบรับการอบรมและส่งผู้ดูแลระบบเข้ารบอบรมก่อนเท่านั้น โดยสำนักฯ จะส่งหนังสืออสือเชิญเป็นรอบ ๆ ไป
- Private Cloud ของแต่ละส่วนงานจะมี network ของตนเองแยกอิสระจากกันเป็น private ip ต้องเข้าใช้งานจากเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น โดย service ที่เปิดให้เป็นค่าเริ่มต้นเมื่อมีการเรียกใช้งานจากภายนอก network ของตน คือ http, https, ssh และ remote desktop กรณีต้องการเปิด port เพิ่มเติมให้กรอกแบบฟอร์มทาง Microsoft Teams : Admin IT CMU
- VM ที่ Deploy จะอยู่ใน Subnet x.x.x.x/24 และจะได้รับ IP Address อัตโนมัติ (DHCP) ในช่วง x.x.x.200 - x.x.x.250 นอกจากนั้นสามารถกำหนด ip address เองได้
- Private Cloud ของแต่ละส่วนงานจะมี Public ip เพื่อใช้รับการเชื่อมต่อจาก Internet โดยจะทำการ port forwarding มาที่ Private ip x.x.x.10 (ip นี้ควรเป็น reverse proxy รายละเอียดจะอยู่ในการอบรม) โดยจะเปิด port http, https เท่านั้น กรณีต้องการเปิด port เพิ่มเติมให้ติดต่อ supawit.w@cmu.ac.th หรือทาง Microsoft Teams : Admin IT CMU
- สำนักฯ ให้บริการ Private Cloud ในลักษณะ Infrastructure as a service ซึ่งส่วนงานจะต้องดูแลและรับผิดชอบระบบที่สร้างขึ้นตั้งแต่ระดับระบบปฏิบัติการและโปรแกรมต่าง ๆ ที่ติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ โดยทางสำนักฯ จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
- การสำรองข้อมูลเครื่องแม่ข่ายเสมือน ให้ส่วนงานติดต่อ santi.s@cmu.ac.th หรือทาง Microsoft Teams : Admin IT CMU เพื่อแจ้งเครื่องแม่ข่ายเสมือนที่ต้องการสำรองข้อมูล โดยจะทำการสำรองให้วันละ 1 ครั้ง สามารถย้อนหลังได้ 7 วัน
- การจัดการ Private Cloud ทำได้ผ่านหน้าเว็บไซต์ https://cloud-ssp.cmu.ac.th เข้าสู่ระบบโดยใช้ CMU IT Account เฉพาะผู้ดูแลระบบที่แจ้งมาในแบบฟอร์มตอบรับและเข้าร่วมอบรมแล้ว