Difference between revisions of "Zoom Issue"

From CMU ITSC Network
Line 5: Line 5:
 
  <div align="right"> 30 กรกฎาคม 2564 </div>  
 
  <div align="right"> 30 กรกฎาคม 2564 </div>  
 
<br/> [[File:Zoom02.jpeg|left|100px|LAN]] '''1.ใช้สาย LAN ต่อคอมหรือโน๊ตบุ๊คจะมีเสถียรภาพมากที่สุด''' <br> แม้ว่าการเชื่อมต่อด้วยระบบเครือข่ายไร้สาย หรือ WiFi จะมีความสะดวก แต่ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีทำให้ WiFi มักจะมีปัญหาสัญญาณรบกวนหรือเสถียรภาพและความเร็ว จึงสู้การใช้สาย LAN ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อต้องมีการประชุมหรือสอนออนไลน์งานสำคัญๆ ที่จะสะดุดไม่ได้ การเลือกต่อคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คของตนเองเข้ากับสาย LAN น่าจะเป็นข้อแนะนำแรกๆ ที่ควรต้องทำ เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพมากที่สุด ทั้งนี้แม้แต่บริษัท Zoom ก็ยังแนะนำให้ทำเช่นนี้เหมือนกัน &ensp; https://support.zoom.us/hc/en-us/articles/201362463-Wireless-WiFi-Connection-Issues<br>
 
<br/> [[File:Zoom02.jpeg|left|100px|LAN]] '''1.ใช้สาย LAN ต่อคอมหรือโน๊ตบุ๊คจะมีเสถียรภาพมากที่สุด''' <br> แม้ว่าการเชื่อมต่อด้วยระบบเครือข่ายไร้สาย หรือ WiFi จะมีความสะดวก แต่ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีทำให้ WiFi มักจะมีปัญหาสัญญาณรบกวนหรือเสถียรภาพและความเร็ว จึงสู้การใช้สาย LAN ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อต้องมีการประชุมหรือสอนออนไลน์งานสำคัญๆ ที่จะสะดุดไม่ได้ การเลือกต่อคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คของตนเองเข้ากับสาย LAN น่าจะเป็นข้อแนะนำแรกๆ ที่ควรต้องทำ เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพมากที่สุด ทั้งนี้แม้แต่บริษัท Zoom ก็ยังแนะนำให้ทำเช่นนี้เหมือนกัน &ensp; https://support.zoom.us/hc/en-us/articles/201362463-Wireless-WiFi-Connection-Issues<br>
<br/> [[File:Zoom03.png|left|100px|5.0 GHz]] '''2. ใช้ WiFi ที่เป็นความถี่ 5.0 GHz จะดีกว่า 2.4 GHz''' <br> เป็นที่ทราบกันดีว่า WiFi ที่เป็นความถี่ 2.4 GHz จะมีช่องสัญญาณให้ใช้งานได้เพียงไม่กี่ช่อง เปรียบไปก็เหมือนถนนที่มีเพียงสองเลน ถ้ารถเยอะก็ขับยาก ทำเวลาไม่ได้ แซงก็ลำบาก ซึ่งบางครั้งในจุดที่เราใช้งาน ก็อาจจะมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณ WiFi ของคนอื่นๆ มาอยู่ใกล้ หรือปล่อยสัญญาณมารบกวนได้ รวมถึงบางครั้งก็มีการปล่อย Printer WiFi หรือ Projector WiFi หรือ HotSpot จากมือถือ หรือสัญญาณรบกวนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ที่มักจะใช้ช่องสัญญาณ 2.4 GHz เหมือนกัน ทำให้สัญญาณชนกัน หลุดบ่อย โหลดไม่ขึ้น หมุนติ้วๆๆๆ และส่งผลกระทบต่อการใช้งานมากๆๆๆ ดังนั้นเราจึงควรเลือกต่อ WiFi ที่เป็นความถี่ 5.0 GHz ซึ่งเปรียบได้เหมือนกับถนนมอเตอร์เวย์ ช่องเลนกว้าง ขนส่งข้อมูลได้เยอะ รวดเร็วกว่า <span style="color: #ff0000;">สำหรับนักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แนะนำให้ใช้ @JumboPlus5GHz เป็นลำดับแรก</span> &emsp;&emsp;&emsp;&emsp;&emsp;&emsp;&emsp;&emsp; https://www.facebook.com/fanpage.itsc/posts/1199634063511482/ <br>
+
<br/> [[File:Zoom03.png|left|100px|5.0 GHz]] '''2. ใช้ WiFi ที่เป็นความถี่ 5.0 GHz จะดีกว่า 2.4 GHz''' <br> เป็นที่ทราบกันดีว่า WiFi ที่เป็นความถี่ 2.4 GHz จะมีช่องสัญญาณให้ใช้งานได้เพียงไม่กี่ช่อง เปรียบไปก็เหมือนถนนที่มีเพียงสองเลน ถ้ารถเยอะก็ขับยาก ทำเวลาไม่ได้ แซงก็ลำบาก ซึ่งบางครั้งในจุดที่เราใช้งาน ก็อาจจะมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณ WiFi ของคนอื่นๆ มาอยู่ใกล้ หรือปล่อยสัญญาณมารบกวนได้ รวมถึงบางครั้งก็มีการปล่อย Printer WiFi หรือ Projector WiFi หรือ HotSpot จากมือถือ หรือสัญญาณรบกวนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ที่มักจะใช้ช่องสัญญาณ 2.4 GHz เหมือนกัน ทำให้สัญญาณชนกัน หลุดบ่อย โหลดไม่ขึ้น หมุนติ้วๆๆๆ และส่งผลกระทบต่อการใช้งานมากๆๆๆ ดังนั้นเราจึงควรเลือกต่อ WiFi ที่เป็นความถี่ 5.0 GHz ซึ่งเปรียบได้เหมือนกับถนนมอเตอร์เวย์ ช่องเลนกว้าง ขนส่งข้อมูลได้เยอะ รวดเร็วกว่า <span style="color: #ff0000;">สำหรับนักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แนะนำให้ใช้ @JumboPlus5GHz เป็นลำดับแรก</span> &emsp;&emsp;&emsp;&emsp;&emsp;&emsp;&emsp;&nbsp https://www.facebook.com/fanpage.itsc/posts/1199634063511482/ <br>
 
<br/> [[File:Zoom04.png|left|100px|Strong Signal]] '''3.ขยับไปอยู่ใกล้ตัวปล่อยสัญญาณ WiFi ให้มากที่สุด''' <br> แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เพลงยิ่งใกล้ยิ่งเจ็บ แต่เป็นยิ่งใกล้ยิ่งเร็ว ซึ่งสัญญาณ WiFi เป็นคลื่นที่มีอัตราลดทอนสูง เมื่ออยู่ในจุดที่ห่างจากอุปกรณ์ปล่อยสัญญาณ WiFi ออกไปไกลเท่าไร ความเร็วของสัญญาณก็จะลดลงตามไปมากๆๆๆ เท่านั้นด้วย โดยเฉพาะสัญญาณความถี่ 5.0 GHz แม้จะมีช่องสัญญาณเยอะ ขนาดช่องสัญญาณใหญ่ แต่จะไปได้ไม่ไกลและทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางได้น้อย ดังนั้นเพื่อให้ได้สัญญาณที่ดีมีความเร็วสูงๆ จึงต้องขยับมือถือหรือโน๊ตบุ๊คของตนเองไปอยู่ใกล้อุปกรณ์ปล่อยสัญญาณ WiFi ให้มากที่สุด และพยายามอย่าให้มีสิ่งกีดขวางกั้นกลางระหว่างสองเรา เช่น กำแพง กระจก โต๊ะ ตู้ เสา ประตู โครงเหล็ก ฯลฯ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาณ WiFi ในเรื่องนี้ได้ตามลิงค์นี้
 
<br/> [[File:Zoom04.png|left|100px|Strong Signal]] '''3.ขยับไปอยู่ใกล้ตัวปล่อยสัญญาณ WiFi ให้มากที่สุด''' <br> แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เพลงยิ่งใกล้ยิ่งเจ็บ แต่เป็นยิ่งใกล้ยิ่งเร็ว ซึ่งสัญญาณ WiFi เป็นคลื่นที่มีอัตราลดทอนสูง เมื่ออยู่ในจุดที่ห่างจากอุปกรณ์ปล่อยสัญญาณ WiFi ออกไปไกลเท่าไร ความเร็วของสัญญาณก็จะลดลงตามไปมากๆๆๆ เท่านั้นด้วย โดยเฉพาะสัญญาณความถี่ 5.0 GHz แม้จะมีช่องสัญญาณเยอะ ขนาดช่องสัญญาณใหญ่ แต่จะไปได้ไม่ไกลและทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางได้น้อย ดังนั้นเพื่อให้ได้สัญญาณที่ดีมีความเร็วสูงๆ จึงต้องขยับมือถือหรือโน๊ตบุ๊คของตนเองไปอยู่ใกล้อุปกรณ์ปล่อยสัญญาณ WiFi ให้มากที่สุด และพยายามอย่าให้มีสิ่งกีดขวางกั้นกลางระหว่างสองเรา เช่น กำแพง กระจก โต๊ะ ตู้ เสา ประตู โครงเหล็ก ฯลฯ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาณ WiFi ในเรื่องนี้ได้ตามลิงค์นี้
 
https://www.youtube.com/watch?v=UygPcBCFRrA
 
https://www.youtube.com/watch?v=UygPcBCFRrA

Revision as of 07:36, 3 August 2021

วิธีแก้ปัญหา Zoom ประชุมหรือสอนออนไลน์แล้วเจออินเทอร์เน็ตไม่เสถียร


Zoom01.png


จากที่ได้รับฟังเสียงฟีดแบคจากหลายท่านว่า ทำไมใช้งาน Zoom เวลาประชุมหรือสอนออนไลน์แล้วมักจะเจอเตือนว่าเน็ตไม่เสถียร หรือข้อความว่า “Your internet connection is unstable” แล้วเน็ตไม่ดีจริงหรือป่าว ทำไมเป็นแบบนี้บ่อยๆ ทั้งที่ปัจจุบันระบบเครือข่ายหลักของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU-NET) ก็ได้มีการอัพเกรดให้รองรับความเร็วสูงสุดถึง 100Gbps และระบบเครือข่ายไร้สาย (Jumbo Net) ก็ได้มีการอัพเกรดเป็นมาตรฐานใหม่ล่าสุด หรือ WiFi6 ซึ่งรองรับความเร็วสูงสุดถึง 5Gbps แล้ว ซึ่งปัญหานี้จริงๆ ก็อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ หากทำความเข้าใจให้ดีแล้ว ก็จะช่วยให้การประชุมและสอนออนไลน์ราบรื่นและมีประสิทธิภาพดีมากยิ่งขึ้นได้ ดังนั้นลองมาดูกันว่าจะทำอย่างไรแก้ปัญหานี้กันดี


สัจจะ ตันจันทร์พงศ์
30 กรกฎาคม 2564


LAN

1.ใช้สาย LAN ต่อคอมหรือโน๊ตบุ๊คจะมีเสถียรภาพมากที่สุด
แม้ว่าการเชื่อมต่อด้วยระบบเครือข่ายไร้สาย หรือ WiFi จะมีความสะดวก แต่ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีทำให้ WiFi มักจะมีปัญหาสัญญาณรบกวนหรือเสถียรภาพและความเร็ว จึงสู้การใช้สาย LAN ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อต้องมีการประชุมหรือสอนออนไลน์งานสำคัญๆ ที่จะสะดุดไม่ได้ การเลือกต่อคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คของตนเองเข้ากับสาย LAN น่าจะเป็นข้อแนะนำแรกๆ ที่ควรต้องทำ เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพมากที่สุด ทั้งนี้แม้แต่บริษัท Zoom ก็ยังแนะนำให้ทำเช่นนี้เหมือนกัน   https://support.zoom.us/hc/en-us/articles/201362463-Wireless-WiFi-Connection-Issues

5.0 GHz

2. ใช้ WiFi ที่เป็นความถี่ 5.0 GHz จะดีกว่า 2.4 GHz
เป็นที่ทราบกันดีว่า WiFi ที่เป็นความถี่ 2.4 GHz จะมีช่องสัญญาณให้ใช้งานได้เพียงไม่กี่ช่อง เปรียบไปก็เหมือนถนนที่มีเพียงสองเลน ถ้ารถเยอะก็ขับยาก ทำเวลาไม่ได้ แซงก็ลำบาก ซึ่งบางครั้งในจุดที่เราใช้งาน ก็อาจจะมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณ WiFi ของคนอื่นๆ มาอยู่ใกล้ หรือปล่อยสัญญาณมารบกวนได้ รวมถึงบางครั้งก็มีการปล่อย Printer WiFi หรือ Projector WiFi หรือ HotSpot จากมือถือ หรือสัญญาณรบกวนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ที่มักจะใช้ช่องสัญญาณ 2.4 GHz เหมือนกัน ทำให้สัญญาณชนกัน หลุดบ่อย โหลดไม่ขึ้น หมุนติ้วๆๆๆ และส่งผลกระทบต่อการใช้งานมากๆๆๆ ดังนั้นเราจึงควรเลือกต่อ WiFi ที่เป็นความถี่ 5.0 GHz ซึ่งเปรียบได้เหมือนกับถนนมอเตอร์เวย์ ช่องเลนกว้าง ขนส่งข้อมูลได้เยอะ รวดเร็วกว่า สำหรับนักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แนะนำให้ใช้ @JumboPlus5GHz เป็นลำดับแรก        &nbsp https://www.facebook.com/fanpage.itsc/posts/1199634063511482/

Strong Signal

3.ขยับไปอยู่ใกล้ตัวปล่อยสัญญาณ WiFi ให้มากที่สุด
แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เพลงยิ่งใกล้ยิ่งเจ็บ แต่เป็นยิ่งใกล้ยิ่งเร็ว ซึ่งสัญญาณ WiFi เป็นคลื่นที่มีอัตราลดทอนสูง เมื่ออยู่ในจุดที่ห่างจากอุปกรณ์ปล่อยสัญญาณ WiFi ออกไปไกลเท่าไร ความเร็วของสัญญาณก็จะลดลงตามไปมากๆๆๆ เท่านั้นด้วย โดยเฉพาะสัญญาณความถี่ 5.0 GHz แม้จะมีช่องสัญญาณเยอะ ขนาดช่องสัญญาณใหญ่ แต่จะไปได้ไม่ไกลและทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางได้น้อย ดังนั้นเพื่อให้ได้สัญญาณที่ดีมีความเร็วสูงๆ จึงต้องขยับมือถือหรือโน๊ตบุ๊คของตนเองไปอยู่ใกล้อุปกรณ์ปล่อยสัญญาณ WiFi ให้มากที่สุด และพยายามอย่าให้มีสิ่งกีดขวางกั้นกลางระหว่างสองเรา เช่น กำแพง กระจก โต๊ะ ตู้ เสา ประตู โครงเหล็ก ฯลฯ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาณ WiFi ในเรื่องนี้ได้ตามลิงค์นี้

https://www.youtube.com/watch?v=UygPcBCFRrA