Difference between revisions of "Phishing"
Thomhathai (talk | contribs) |
Thomhathai (talk | contribs) |
||
Line 13: | Line 13: | ||
=== Phishing web === | === Phishing web === | ||
Web Phishing คือ การปลอมแปลงหน้าเว็บไซต์จริง เพื่อหลอกเอาข้อมูลเช่น username และ password ของผู้เสียหาย ถ้าหากผู้เสียหายไม่ระมัดระวังก็อาจจะกรอกข้อมูลต่าง ๆ ส่งให้ผู้ไม่ประสงค์ดีโดยที่ไม่รู้ตัว โดย Web Phishing มักจะเป็นลิงก์ปลอมที่แนบมากับอีเมล เมื่อผู้เสียหายกดเปิดก็จะเข้าสู่ Web Phishing (เว็บไซต์ปลอมที่ทำเลียนแบบเว็บไซต์ของจริง) ที่ผู้ไม่ประสงค์ดีสร้างขึ้นเพื่อหลอกให้ผู้เสียหายกรอก username และ password หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ ทันที โดยทั้งหมดทำผ่านหน้าเว็บที่คล้ายของจริง ที่ผู้ไม่ประสงค์ดีเป็นคนตั้งขึ้นมา <br/><br/> | Web Phishing คือ การปลอมแปลงหน้าเว็บไซต์จริง เพื่อหลอกเอาข้อมูลเช่น username และ password ของผู้เสียหาย ถ้าหากผู้เสียหายไม่ระมัดระวังก็อาจจะกรอกข้อมูลต่าง ๆ ส่งให้ผู้ไม่ประสงค์ดีโดยที่ไม่รู้ตัว โดย Web Phishing มักจะเป็นลิงก์ปลอมที่แนบมากับอีเมล เมื่อผู้เสียหายกดเปิดก็จะเข้าสู่ Web Phishing (เว็บไซต์ปลอมที่ทำเลียนแบบเว็บไซต์ของจริง) ที่ผู้ไม่ประสงค์ดีสร้างขึ้นเพื่อหลอกให้ผู้เสียหายกรอก username และ password หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ ทันที โดยทั้งหมดทำผ่านหน้าเว็บที่คล้ายของจริง ที่ผู้ไม่ประสงค์ดีเป็นคนตั้งขึ้นมา <br/><br/> | ||
− | รูปที่ 2 ตัวอย่างของ Phishing Web ที่ทำเลียนแบบเว็บไซต์ของจริง ภาพจาก : https://www.facebook.com/informationcovid19 <br/><br/> [[File:Phishing02.png|link=]] <br/><br/> | + | รูปที่ 2 ตัวอย่างของ Phishing Web ที่ทำเลียนแบบเว็บไซต์ของจริง <br/><br/> ภาพจาก : https://www.facebook.com/informationcovid19 <br/><br/> [[File:Phishing02.png|link=]] <br/><br/> |
Revision as of 09:54, 7 July 2021
รู้จัก Phishing
Phishing เป็นคำเปรียบเทียบที่พ้องเสียงมาจาก Fishing ที่แปลว่า การตกปลา โดยในการตกปลานั้น ต้องมีเหยื่อล่อให้ปลามาติดเบ็ด จึงเปรียบเทียบถึงการสร้างสถานการณ์โดยการส่งข้อความ อีเมล หรือเว็บไซต์ปลอม เพื่อเป็นเหยื่อล่อให้ผู้เสียหายเข้ามาติดเบ็ด และหลอกล่อผู้เสียหายให้กรอกข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ หรือ ส่งโปรแกรมให้ติดตั้งลงเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ผู้ไม่ประสงค์ดีต้องการ ซึ่งการทำ Phishing ที่พบเห็นบ่อยในประเทศไทยมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
- Phishing mail
- Phishing web
Phishing mail
Phishing mail เป็นการส่งอีเมลหลอกลวง โดยจะเริ่มต้นจากข้อความอีเมลที่ดูเหมือนกับว่าเป็นการแจ้งเตือนอย่างเป็นทางการและมีความเร่งด่วนจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น หน่วยงาน IT ของมหาวิทยาลัย ธนาคาร บริษัทบัตรเครดิต หรือหน่วยงานอื่นๆ อันเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เป็นต้น ซึ่งข้อความการแจ้งเตือนดังกล่าวจะทำให้ผู้เสียหายมีความตื่นตระหนกและเกรงกลัว หากผู้เสียหายหลงเชื่อได้กรอกข้อมูลสำคัญต่างๆ ที่แนบมากับลิงค์ในอีเมลหลอกลวงเหล่านี้ เช่น username และ password สำหรับการเข้าระบบขององค์กร หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ ซึ่งจะทำผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถโจรกรรมข้อมูล ปลอมแปลง และเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว ส่งผลให้ผู้เสียหายและองค์กรเสื่อมเสียชื่อเสียง หากผู้ไม่ประสงค์ดีมีการนำข้อมูลที่ได้มาไปใช้งานอย่างผิดกฎหมาย ผู้เสียหายอาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้
โปรดระวังและตระหนักอยู่เสมอว่า สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่มีนโยบายให้ผู้ใช้งานเข้าไปยืนยันความถูกต้องในการใช้บริการสารสนเทศของมหาวิทยาลัยผ่านทางลิงก์ที่แนบมาในอีเมลหรือช่องทางอื่นๆ ทุกช่องทาง
รูปที่ 1 ตัวอย่างของ Phishing mail อ้างเป็นหน่วยงานจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ลักษณะที่น่าสงสัยของ Phishing mail * มักใช้ชื่ออีเมลที่คล้ายหรือใกล้เคียงกับชื่อขององค์กรนั้นๆ * มีลิงก์หรือไฟล์แนบที่น่าสงสัย * มีข้อความแจ้งเตือนว่าด่วน หรือสำคัญมาก
Phishing web
Web Phishing คือ การปลอมแปลงหน้าเว็บไซต์จริง เพื่อหลอกเอาข้อมูลเช่น username และ password ของผู้เสียหาย ถ้าหากผู้เสียหายไม่ระมัดระวังก็อาจจะกรอกข้อมูลต่าง ๆ ส่งให้ผู้ไม่ประสงค์ดีโดยที่ไม่รู้ตัว โดย Web Phishing มักจะเป็นลิงก์ปลอมที่แนบมากับอีเมล เมื่อผู้เสียหายกดเปิดก็จะเข้าสู่ Web Phishing (เว็บไซต์ปลอมที่ทำเลียนแบบเว็บไซต์ของจริง) ที่ผู้ไม่ประสงค์ดีสร้างขึ้นเพื่อหลอกให้ผู้เสียหายกรอก username และ password หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ ทันที โดยทั้งหมดทำผ่านหน้าเว็บที่คล้ายของจริง ที่ผู้ไม่ประสงค์ดีเป็นคนตั้งขึ้นมา
รูปที่ 2 ตัวอย่างของ Phishing Web ที่ทำเลียนแบบเว็บไซต์ของจริง
ภาพจาก : https://www.facebook.com/informationcovid19